
โรคออฟฟิศซินโดรม (Office syndrome) คืออะไร มีวิธีป้องกันอย่างไร
September 15, 2020
อาการปวดตึงบริเวณหลัง ไหล่ และคอ มักพบได้บ่อยในผู้ที่นั่งทำงานในออฟฟิศเป็นประจำ คุณรู้หรือไม่ว่าอาการปวดที่มาๆ หายๆ เหล่านี้ อาจจะเป็นสัญญาณเตือนของโรคออฟฟิศซินโดรม ที่หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาวได้
อาการออฟฟิศซินโดรมเป็นภัยเงียบที่ไม่ควรองข้าม เพราะถึงแม้ว่าจะมีอาการแรกเริ่มที่ไม่รุนแรง แต่ความเจ็บปวดตามกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ก็สามารถสะสมกลายเป็นอาการปวดเรื้อรัง และเสี่ยงต่อการเกิดโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทได้ เพราะฉะนั้นหากรู้สึกตัวว่ามีอาการปวดบริเวณหลังหรือช่วงไหล่เป็นประจำ คุณควรไปพบแพทย์และเข้ารับการรักษาก่อนที่จะสายเกินไป
อาการของโรคออฟฟิศซินโดรม
ผู้ที่มีอาการของโรคออฟฟิศซินโดรม อาจจะเผชิญกับอาการเหล่านี้ ได้แก่:
- ปวดเมื่อย รู้สึกเจ็บแปลบบริเวณคอ บ่า ไหล่ และหลังช่วงล่าง
- มึนและปวดร้าวศีรษะ ปวดไมเกรน
- ปวดแขนและข้อมือ
- มีอาการชาและอ่อนแรงบริเวณแขนและมือ เนื่องจากระบบประสาทถูกกดทับ
- ตาล้าเนื่องจากจ้องจอคอมพิวเตอร์นานๆ
นอกจากนี้ อาการเจ็บปวดเรื้อรังที่เกิดจากโรคออฟฟิศซินโดรมยังสามารถส่งผลต่อสภาวะจิตใจและอารมณ์ได้ โดยผู้ป่วยอาจรู้สึกเครียดและซึมเศร้า หากคุณมีอาการเหล่านี้ เราแนะนำให้ปรึกษาแพทย์ทันที เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง
สาเหตุของโรคออฟฟิศซินโดรม
สาเหตุหลักของการเกิดโรคออฟฟิศซินโดรมมักมาจากการนั่งทำงานในอิริยาบทเดิมเป็นเวลานานๆ ทำให้กล้ามเนื้อมัดเดิมเกิดอาการเกร็งสะสมต่อเนื่อง จนเกิดอาการปวดเรื้อรังในที่สุด นอกจากนี้ การนั่งไขว่ห้างจนติดเป็นนิสัย ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดกล้ามเนื้อบริเวณหลัง ไหล่ และคอ เนื่องจากการนั่งไขว่ห้างจะเป็นการถ่ายน้ำหนักไปที่ขาข้างเดียว ทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก
สาเหตุอื่นๆ ของโรคออฟฟิศซินโดรมอาจมาจากการนั่งทำงานในอิริยาบถที่ไม่เหมาะสม เช่น การนั่งห่อไหล่ นั่งหลังค่อม นั่งไม่เต็มก้น นั่งกอดอก และการนอนตะแคงเพียงด้านเดียวโดยไม่พลิกตัว การนอนอ่านหนังสือในท่าที่ไม่ถูกต้อง หรือการใส่ส้นสูงเป็นเวลานานๆ ก็สามารถส่งผลโดยตรงต่ออาการปวดเมื่อยบริเวณกระดูกสันหลังและคอได้
วิธีป้องกันการเกิดออฟฟิศซินโดรม
วิธีการป้องกันความเสี่ยงของโรคออฟฟิศซินโดรมสามารถทำได้หลายวิธี ได้แก่:
- เลือกเฟอร์นิเจอร์ที่เหมาะสม: เลือกซื้อเก้าอี้ ergonomic หรือเก้าอี้ที่ออกแบบมาเพื่อรองรับสรีระของผู้ใช้งาน ทำให้คุณนั่งทำงานได้โดยไม่ปวดเมื่อย
- ย้ายและจัดตำแหน่งหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสม: จัดตำแหน่งหน้าจอให้ในระดับสายตา และให้อยู่ห่างจากตัวประมาณ 1 ช่วงแขน
- ปรับเปลี่ยนอิริยาบถในการทำงาน: ปรับเปลี่ยนท่านั่งทุกๆ 20-30 นาที
- ยืดและขยับร่างกายบ่อยๆ: ยืด แขน ขา ขยับร่างกาย ด้วยการเดินรอบๆ เพื่อให้กล้ามเนื้อส่วนต่างๆ คลายตัว
- นั่งหลังตรง: พยายามยามนั่งให้หลังชิดกับพนักเก้าอี้เสมอ และนั่งเก้าอี้ให้เต็มก้น
- พักสายตาบ่อยๆ: พักสายตาทุกๆ 10 นาที โดยมองออกไปนอกหน้าต่าง เพื่อไม่ให้สายตาล้าเกินไป
- ทำงานในที่ๆมีแสงเพียงพอ: ติดตั้งไฟเพิ่มให้มีแสงเพียงพอในการทำงาน เพื่อลดการเพ่งสายตาในการทำงาน
นอกจากวิธีข้างต้นแล้ว การออกกำลังกายก็เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการบรรเทาอาการของโรคออฟฟิศซินโดรมได้ ผู้ที่มีอาการสามารถออกกำลังกาย Light weight trainning เล่นโยคะ และพิลาทิส คุณสามารถทำกิจกรรมอื่นๆ ร่วมด้วยเพื่อให้คุณได้ขยับกล้ามเนื้อและปรับท่าทางให้ดีขึ้น
ในปัจจุบัน ผู้ให้บริการนวดหลายรายได้ออกแบบบริการนวดสำหรับรักษาอาการของโรคออฟฟิศซินโดรมโดยเฉพาะ ผู้ที่มีอาการของโรคออฟฟิศซินโดรมสามารถรับบริการนวดเพื่อคลายความปวดเมื่อยและบรรเทาอาการเจ็บปวดของกล้ามเนื้อบริเวณหลังช่วงล่าง คอ ไหล่ และอื่นๆ
RLAX เป็นผู้ให้บริการนวดนอกสถานที่ เรามีบริการนวดแก้ออฟฟิศซินโดรมโดยเทอราปิสมากประสบการณ์ ที่จะเดินทางไปให้บริการถึงที่บ้าน ที่ทำงาน และคอนโด จองบริการนวดที่สะดวกสบายที่สุดกับ RLAX ได้แล้ววันนี้