วิธีรักษาปมกล้ามเนื้อ (Muscle Knots)

February 29, 2024

How To Get Rid Of Muscle Knots

ปมกล้ามเนื้อ คือ อาการที่กล้ามเนื้อจับตัวเป็นก้อนแน่นแข็งแม้ในขณะที่ร่างกายผ่อนคลาย ปมกล้ามเนื้อจะมีจุดกดเจ็บ หรือที่เรียกว่า Myofascial Trigger Point ที่จะทำให้คุณรู้สึกเจ็บปวดเพียงแค่สัมผัส มารู้จักปมกล้ามเนื้อและวิธีการป้องกันการเกิดของปมกล้ามเนื้อให้มากขึ้นกันเถอะ

ปมกล้ามเนื้อมักเกิดขึ้นบริเวณกลางลำตัว คอ ไหล่ และหลังช่วงล่าง

การยืดกล้ามเนื้อเป็นประจำจะช่วยคลายปมกล้ามเนื้อได้

การนวดจะช่วยให้กระตุ้นเลือดไปเลี้ยงบริเวณที่มีปมกล้ามเนื้อ

ปมกล้ามเนื้อ มักพบได้โดยทั่วไป โดยส่วนใหญ่มักจะพบในพนักงานประจำที่มีท่าทางในการทำงานที่ไม่เหมาะสมและทำงานในอิริยาบถเดิมเป็นเวลานานๆ จนทำให้เกิดจุดกดเจ็บตามร่างกาย และยังพบได้ในผู้ที่มีอาการบาดเจ็บของกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง ปมกล้ามเนื้อยังมีสาเหตุมาจากปัจจัยอื่นๆ เช่น การได้รับสารอาหารที่ไม่เพียงพอ ภาวะขาดน้ำ และสภาวะผิดปกติทางอารมณ์และจิตใจ ได้แก่ ความเครียดและความวิตกกังวล

ลักษณะของโรค

จุดกดเจ็บส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นที่บริเวณกล้ามเนื้อกลางลำตัว คอ ไหล่ และหลังช่วงล่าง รวมถึงบริเวณกล้ามเนื้อน่องและหน้าแข้ง ปมกล้ามเนื้ออาจจะมีลักษณะแข็งหรือปูด เมื่อสัมผัสจะรู้สึกถึงความเจ็บปวด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกิดอาการอักเสบหรือบวม

เมื่อสัมผัสโดนจุดกดเจ็บ อาการปวดอาจลุกลามไปยังกล้ามเนื้อบริเวณใกล้เคียง เช่น ศีรษะ หู และกราม ผู้ที่มีปมกล้ามเนื้ออาจจะเผชิญกับความเครียด ซึมเศร้า หรืออาการนอนไม่หลับร่วมด้วย

วิธีรักษาปมกล้ามเนื้อ

การรักษาปมกล้ามเนื้อ อาจจะต้องใช้เวลานานพอสมควร เพราะต้องคลายปมกล้ามเนื้อและดูแลอาการเจ็บปวดไปพร้อมๆ กัน วิธีการรักษาปมกล้ามเนื้อมีหลายวิธี แต่อย่างไรก็ตาม เพื่อประสิทธิภาพในการรักษา คุณจะต้องพักหรืองดทำกิจกรรมที่อาจเพิ่มความรุนแรงของอาการเจ็บปวด

การยืดร่างกายสามารถช่วยคลายกล้ามเนื้อที่หดเกร็งได้ การเล่นโยคะ จึงเป็นอีกวิธีหนึ่งที่สามารถรักษาปมกล้ามเนื้อได้ในระยะยาว สำหรับผู้ที่เพิ่งเริ่มฝึกโยคะ การทำท่าทางต่างๆ จะต้องเป็นไปอย่างช้าๆ ไปตามความสามารถของร่างกายของแต่ละคน โดยให้เริ่มต้นจากการทำท่ายืดเบื้องต้น และค้างไว้ประมาณ 30 วินาที จากนั้นค่อยๆ เปลี่ยนท่าและผ่อนคลาย เพื่อลดความเสี่ยงและอันตรายของอาการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ

สำหรับผู้มีปมกล้ามเนื้อบริเวณไหล่และคอ ท่าออกกำลังกายช่วงแขนจะช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อบริเวณดังกล่าวได้ นอกจากนี้ยังมีการออกกำลังกายอื่นๆ เช่น การว่ายน้ำ กายบริหาร และกระโดดตบ ที่จะช่วยยืดกล้ามเนื้อ ทำให้เลือดสูบฉีด และช่วยขับสารพิษออกจากร่างกายได้

การรักษาปมกล้ามเนื้อยังสามารถใช้วิธีความร้อน-ความเย็นบำบัด โดยจะเริ่มต้นด้วยการประคบเย็นเผื่อลดอาการบวมและดูดซับความร้อนบริเวณที่ปวด จากนั้นบำบัดด้วยความร้อน โดยการอาบน้ำอุ่นหรือทำการประคบร้อนเพื่อบรรเทาความเจ็บปวดและทำให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย และกระตุ้นให้เลือดมาเลี้ยงบริเวณที่บาดเจ็บเรื้อรัง ก่อให้เกิดกระบวนการซ่อมแซมตนเอง คุณสามารถใช้วิธีประคบร้อนและประคบเย็นได้ตามความต้องการ และควรใช้ร่วมกับวิธีการรักษารูปแบบอื่นๆ เพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

นอกจากนี้คุณสามารถใช้ยานวดที่มีส่วนประกอบของเมนทอล แคปไซซิน และการบูร ที่มีคุณสมบัติช่วยในการคลายความปวดเมื่อย โดยทำการนวดให้สารสกัดซึมเข้าสู่ผิวบริเวณเหนือปมกล้ามเนื้อ วันละ 2 ครั้ง จะช่วยให้คุณจะรู้สึกดีขึ้น

แต่หากวิธีทั้งหมดที่กล่าวมาไม่ได้ผล คุณอาจจะต้องเข้าพบนักกายภาพบำบัดเพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง นักกายภาพบำบัดอาจจะแนะนำวิธีการรักษาปมกล้ามเนื้อที่ได้ผลด้วยบริการนวด

Tips: RLAX เป็นผู้ให้บริการนวดใกล้ฉันในกรุงเทพ เชียงใหม่ ภูเก็ต หัวหิน และพัทยา จองออนไลน์ล่วงหน้าเพียง 90 นาที และรับบริการนวดกับเทอราปิสได้ถึงที่บ้าน โรงแรม และที่ทำงาน

รักษาปมกล้ามเนื้อด้วยการนวดบำบัด

การนวดเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการรักษาปมกล้ามเนื้อ เพราะจะช่วยให้ระบบการไหลเวียนโลหิตทำงานได้ดียิ่งขึ้น ช่วยลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ และบรรเทาความเจ็บปวดในส่วนต่างๆ ได้ อย่างไรก็ตาม การนวดเพียง 1 ครั้ง ไม่สามารถรักษาปมกล้ามเนื้อให้หายขาดได้ ดังนั้นคุณควรปรึกษาเทอราปิสเพื่อวางแผนการนวดบำบัดให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด

คุณสามารถเลือกรับบริการนวดที่เหมาะกับลักษณะของปมกล้ามเนื้อและความต้องการส่วนบุคคล หากปมกล้ามเนื้อของคุณไม่มีอาการรุนแรง คุณสามารถทำการนวดด้วยตัวเองที่บ้าน โดยการใช้นิ้วหัวแม่มือฝ่ามือกดเป็นวงกลมบริเวณปมกล้ามเนื้อ และใช้อุปกรณ์ช่วยอื่นๆ เช่น ลูกบอล และ Foam Roller วางระหว่างลำตัวกับพื้นหรือผนัง

การนวดสวีดิชสามารถช่วยขจัดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อได้ดี เนื่องจากมีความนุ่มนวลและมีการใช้จังหวะนวดที่ยาวและช้า เพื่อการบำบัดอย่างล้ำลึก ส่วนการนวดดีพทิชชู (Deep tissue massage) และการนวดจับเส้น จะใช้จังหวะช้าและลึกกว่า เพื่อให้เข้าถึงกล้ามเนื้อชั้นลึกและเส้นเอ็นทั่วร่างกาย เพื่อช่วยคลายอาการปวดเรื้อรังของกล้ามเนื้อ

หากคุณเป็นนักกีฬามืออาชีพ คุณอาจจะรู้จักปมกล้ามเนื้อเป็นอย่างดีและอาจจะเคยใช้บริการนวดสำหรับนักกีฬาโดยเฉพาะ บริการนวดสปอร์ตไม่เพียงช่วยลดอาการปวดตึงของกล้ามเนื้อเท่านั้น ยังช่วยป้องกันการบาดเจ็บได้อีกด้วย

วิธีป้องกันการเกิดซ้ำของปมกล้ามเนื้อ

การฝึกท่าทางให้ถูกต้อง และออกกำลังกายเป็นประจำ จะสามารถป้องกันการเกิดเกิดซ้ำของปมกล้ามเนื้อได้ คุณควรสังเกตุร่างกายเกี่ยวกับสาเหตุของปมกล้ามเนื้อที่เคยเกิดขึ้น หากพบว่าปมกล้ามเนื้อมีสาเหตุมาจากการออกกำลังกายที่ไม่ถูกต้อง คุณอาจจะต้องเปลี่ยนวิธีการออกกำลังกาย หรือเน้นออกกำลังกายที่กล้ามเนื้อส่วนอื่น และควรปรึกษาเทรนเนอร์หรือนักกายภาพบำบัด เพื่อออกแบบโปรแกรมการออกกำลังกายที่เหมาะสม

นอกจากนี้ ควรหลีกเลี่ยงการนั่งในท่าเดิมเป็นเวลานานๆ และทำการยืดอยู่เสมอเพื่อป้องกันการเกร็งของกล้ามเนื้อ รวมถึงรับประทานอาหารและดื่มน้ำให้เพียงพอ พยายามเลือกอาหารสดใหม่ที่มีแคลเซียม และโปรแตสเซียม และหากจำเป็นต้องทานยาด้วยตัวเอง ควรปรึกษาแพทย์หรือนักกายภาพบำบัดก่อนเสมอ

ความเครียดก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งของการเกิดปมกล้ามเนื้อ การเล่นโยคะ และการนวด จะทำให้ร่างกายผ่อนคลายและป้องกันอาการเกร็งของกล้ามเนื้อได้

Go to Top